Bangkok
Thailand


Responsable: Gregory Kourilski

Ecole française d'Extrême-Orient
Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
20 Borommaratchachonnani Road
Bangkok 10170
Thailand
Tel: +66 2 433 12 68
Fax: +66 2 880 93 32 gregory.kourilsky@efeo.net
efeo@sac.or.th


Peter Skilling และงานสัปดาห์บาลีศึกษานานาชาติครั้งที่หนึ่ง ณ มหาวิทยาลัย Sorbonne แห่งเมืองปารีส
20 JUNE 14
ระหว่างวันที่ 16 ถึง 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557 นี้ อาจารย์ Peter Skilling จะเดินทางไปยังกรุงปารีสเพื่อจัดงานประชุมนานาชาติเรื่องบาลีศึกษา (First International Pali Studies Week) ร่วมกับคุณ Nalini Balbir ณ มหาวิทยาลัย Sorbonne แห่งกรุงปารีส 

งานประชุมนานาชาติบาลีศึกษานี้มีประเด็นคำถามสำคัญอยู่ด้วยกันสองประการดังต่อไปนี้

I. เนื่องด้วยวัฒนธรรมภาษาบาลีของประเทศไทย (ดินแดนสยาม) ซึ่งยังไม่ได้เป็นประเด็นศึกษาสำคัญอย่างที่ควรจะเป็น:

ตั้งแต่สมัยอยุธยา (ปลายพุทธศตวรรษที่ 19) และตั้งแต่ก่อนหน้ายุคสมัยดังกล่าว สยามหรือประเทศไทยผลิตและเผยแพร่กลุ่มวรรณกรรมซึ่งควรเรียกว่าเป็นกลุ่มวรรณกรรมที่มีลักษณะเฉพาะของ "วรรณกรรมภาษาบาลีแห่งสยามประเทศ" อย่างไรก็ตาม เราไม่ได้ให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้อย่างที่ควรจะเป็น และกลุ่มวรรณกรรมซึ่งมักจะเข้าใจกันว่า "ไม่ได้เป็นต้นฉบับเดิม" เหล่านี้ยังถูกมองข้ามจากความสนใจที่มุ่งไปยังกลุ่มวรรณกรรมที่เข้าใจกันว่า "เป็นต้นฉบับที่แท้" จากศรีลังกามากกว่า ในสัปดาห์บาลีศึกษาผู้เข้าร่วมงานประชุมได้รับการเชื้อเชิญให้มาเข้าร่วมเพื่อนำเสนอกลุ่มวรรณกรรมภาษาบาลีที่ได้รับการเก็บรักษาไว้ในกลุ่มวัฒนธรรมไท ตลอดสัปดาห์งานประชุม เรายังได้จัดกิจกรรมการอ่านคัมภีร์ Jambupati-sūtra (ชมพูบดีสูตร) ที่จารึกด้วยอักษรขอมและเป็นคัมภีร์ "ที่เชื่อกันว่าถอดแบบมาจากคัมภีร์อื่น (คือไม่ได้เป็นต้นฉบับที่แท้)" แต่เป็นคัมภีร์สำคัญที่ถูกรวบรวมเข้าไว้ในพระสูตรของพุทธศาสนาแห่งกรุงศรีอยุธยา

II. สำรวจสถานภาพของคลังวรรณกรรมภาษาบาลีในบริบทโดยรวมของวรรณกรรมเนื่องในพุทธศาสนายุคต้น อันหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมภาษาบาลีที่มีต่อกลุ่มคัมภีร์ ซึ่งจารึกด้วยภาษา Gāndhārī และต่อกลุ่มคัมภีร์ Āgama  ที่ได้รับการเก็บรักษาไว้ในกลุ่มวัฒนธรรมพุทธศาสนาที่ใช้ภาษาสันสกฤต ภาษาปรากฤต และภาษาจีน:

สาขาวิชาบาลีศึกษาในยุโรปเป็นสาขาวิชาที่มีพัฒนาการสืบสาวกลับไปได้กว่า 150 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ในยุคแรกเริ่ม วัฒนธรรมภาษาบาลีถือว่าเป็นวัฒนธรรมที่มีที่ทางสำคัญในฐานะที่เป็นตัวแทนเพียงหนึ่งเดียวของ "พุทธศาสนาในยุคแรกเริ่ม" นอกไปจากนี้การศึกษาพัฒนาการทางภาษาศาสตร์และมรดกทางภูมิปัญญาในพุทธศาสนายังมีส่วนในการผูกตรึงกระบวนทัศน์แบบคู่ขนานระหว่าง "ภาษาบาลี" (โดยโยงเข้ากับพุทธศาสนาในยุคต้น - ลัทธิเถรวาท) และ "ภาษาสันสกฤต" (ในฐานะที่เป็นตัวแทนของพุทธศาสนาในยุคต่อๆ มา - ลัทธิมหายาน) แม้ว่าตัวแบบทางความคิดในลักษณะดังกล่าวดูจะไม่มีความเที่ยงตรงนัก แต่ก็เป็นแบบความคิดที่เป็นกระแสหลักหรือเป็นวาทกรรมหลักของสาขาวิชาจงบจนปัจจุบัน การค้นพ้นจารึกและคัมภีร์ใหม่ๆ โดยเฉพาะการค้นพบที่เมืองคัธาระแสดงให้เห็นว่าตัวแบบที่มีมาแต่เดิมนี้ไม่อาจจะยึดถือได้อีกต่อไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะได้ทำการทบทวนใหม่ถึงสถานภาพของวรรณกรรมเนื่องในภาษาบาลีโดยใช้หลักฐานใหม่จากทั้งงานค้นพบที่เมืองคันธาระ, จากวรรณกรรมภาษาปรากฤตมีอาทิคัมภีร์ "Patna Dhammapada", จากพัฒนาการครั้งใหญ่ของการศึกษาและการแปลคัมภีร์ Agamas ซึ่งบันทึกด้วยภาษาจีน, และจากมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรมเนื่องพระวินัยและพระอภิธรรมนอกไปจากนี้ งานขุดค้นทางโบราณคดีใหม่ที่อินเดียใต้ ยกตัวอย่างเช่นการค้นพบคลังจารึกที่พระสถูป Kanaganahalli หรือ จารึกบนเสาหินของเมือง Deorkothar และเมือง Phanigiri ซึ่งควรจะได้นำมาใช้เป็นหลักฐานใหม่ให้กับสาขาวิชาบาลีศึกษานี้ด้วย คลังวรรณกรรมภาษาบาลีเป็นคลังวรรณกรรมที่เรียกได้ว่าได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดีที่สุดท่ามกลางตัวบทต่างๆ เนื่องในพุทธศาสนายุคต้น และยังเป็นกลุ่มวัฒนธรรมทางภาษาที่มีความต่อเนื่องและได้รับการเผยแผ่อย่างกว้างขวางที่สุดด้วย คลังวรรณกรรมภาษาบาลีนี้แท้ที่จริงแล้วคือรากฐานของพุทธศาสนศึกษาคำถามสำคัญมีอยู่ว่า หลักฐานและการค้นพบใหม่เหล่านี้สร้างผลกระทบต่อกระบวนทัศน์เก่าอย่างไร? เราควรจะอธิบายที่ทางของวรรณกรรมภาษาบาลีในการก่อตัวขึ้นของวรรณคดีและศาสนาของอินเดียยุคต้นโดยใช้หลักฐานใหม่ๆ เหล่านี้อย่างไร?

งานสัปดาห์การประชุมเนื่องในบาลีศึกษามีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นพื้นที่ให้กับนักวิจัยจากประเทศต่างๆ และจากหลากหลายสาขาวิชาได้มานำเสนอสรุปผลงานวิจัยและเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากความเชี้ยวชาญเฉพาะของนักวิจัยแต่ละท่าน


ผู้ร่วมประชุมที่มาจากประเทศฝรั่งเศสหรือจากสถาบันแห่งประเทศฝรั่งเศส: Nalini Balbir (EPHE); Peter Skilling (EFEO); Georges-Jean Pinault (EPHE); Javier Schnake (Doctorant EPHE); Grégory Kourilsky (Doctorant EPHE, Research Fellow University of Bristol); François Lagirarde (EFEO)

ผู้ร่วมงานที่มาจากประเทศอื่นๆ: Bhikkhu Analayo (University of Hamburg); Naomi Appleton (Edinburgh University); Rupert Gethin (Bristol University); Oskar von Hinüber (University of Freiburg (Emeritus); Petra Kieffer-Pülz (University of Weimar); Thibaut d'Hubert (University of Chicago); Santi Pakdeekham (Sri Nakharin Wirot University); Ingo Strauch (University of Lausanne); Daniel M. Stuart (University of South Carolina); Toshiya Unebe (Nagoya University) 

กำหนดการประชุม
จันทร์ที่ 16 มิถุนายน
10h00-10h30 Peter Skilling and Nalini Balbir: Introduction to the International Pali Studies Week (บทนำเสนองานประชุมสัปดาห์บาลีศึกษา)
10h30-11h30 Ven Anālayo: Developments in Agama studies and the ‘Pali paradigm' (พัฒนาการในการศึกษาคัมภีร์ Agama และ "กระบวนทัศน์ของภาษาบาลี")
11h30-13h00: "Diversity of Pali: Text, image, and narrative" (ความหลากหลายในวรรณกรรมภาษาบาลี - ตัวบท ภาพ และเรื่องเล่า)
Petra Kieffer-Pülz, Observations on the various Buddhist countries' extracanonical Parittas (ข้อสังเกตุเกี่ยวกับพระปริตรแบบนอกแบบแผนของกลุ่มประเทศที่นับถือพุทธศาสนา)
Toshiya Unebe, The Uṇhissavijaya in samut khoi (illustrated accordion-fold manuscripts in khoi paper) (ชาดก Uṇhissavijaya ในสมุดข่อย) 
Naomi Appleton and Arthid Sheravanichkul, An online Jataka database: plans and principles (ฐานข้อมูลชาดกในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต - โครงเรื่องและโครงสร้าง)
14h30-17h00 Workshop: Santi Pakdeekham with Peter Skilling 
Introduction to the Jambupatisūtra (บทแนะนำเกี่ยวกับ Jambupatisūtra)Reading manuscripts of the Jambupatisūtra (session 1) (อ่านคัมภีร์ฉบับต่างๆ ของ Jambupatisūtra)



อังคารที่ 17 มิถุนายน
9h00-12h00 Jambupatisūtra workshop (session 2)14h00-14h30 Oskar von Hinüber (University of Freiburg, Académie des Inscriptions et Belles-Lettres),
The importance of inscriptions and manuscripts for the history of Pali (ความสำคัญของจารึกและคัมภีร์ในประวัติศาสตร์ของภาษาบาลี)
15h00-17h00 Round table: In quest of new paradigms: The position of Pali in the corpus of early Buddhist texts (เสวนาโต๊ะกลม - ที่ทางของภาษาบาลีในกลุ่มคัมภีร์ของพุทธศาสนายุคต้น)
Leader of discussion: Georges-Jean Pinault
Participants: Peter Skilling, Oskar von Hinüber, Ingo Strauch, Rupert Gethin, Bhikkhu Anālayo 



พุธที่ 18 มิถุนายน
9h30-12h00 A multipurpose language: Pali in Southeast Asia (จุดมุ่งหมายอันหลากหลายของภาษา - ภาษาบาลีในเอเชียอาคเนย์)
1. François Lagirarde, Pali and the Tamnan literature of northern Thailand (ภาษาบาลีและวรรณกรรมประเภทตำนานที่พบในภาคเหนือของประเทศไทย)
2. J. Schnake, Current research on the Vajirasāratthasaṅgaha (แนวทางของงานวิจัยเกี่ยวกับ Vajirasāratthasaṅgaha)  3. Gregory Kourilsky, Current research on the Maṅgalatthadīpanī (แนวทางของงานวิจัยเกี่ยวกับ Maṅgalatthadīpanī)
4. Nalini Balbir & Peter Skilling, Uppātasanti: Evoking a Buddhist pantheon in Pali (ว่าด้วย Uppātasanti พระคาถาอุปปาตะสันติ บทสวดระงับเหตุร้าย - ร่ายรำลึกถึงบุคคลสำคัญทางพุทธศาสนาที่ล่วงลับในวรรณกรรมภาษาบาลี) 13h30-15h00 (ต่อ)
5. Nalini Balbir & Thibaut d'Hubert, Vidaddhamukhamaṇḍana: Enigmas in the transmission of a corpus of riddles (Vidaddhamukhamaṇḍana - ความน่าพิศวงในการถ่ายทอดกลุ่มวรรณกรรมปริศนาธรรม)
6. Daniel M. Stuart, Refiguring Maitreya: The Anāgatavaṃsa Commentaries and Narrative Agency in Pali Literary Culture (ทบทวนภาพลักษณ์ของพระศรีอาริยเมตไตรย - อรรถกถาว่าคัมภีร์อนาคตวงศ์และผู้เล่าเรื่องในจารีตของวรรณกรรมภาษาบาลี)
15h15-17h00 Jambupatisūtra workshop (session 3)



พฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน
9h00-12h00 Jambupatisūtra workshop (session 4)
14h00-16h00 Manuscript collections of Thailand, North and South (ชุดพระคัมภีร์ในประเทศไทย - ภาคเหนือและภาคใต้)
O. von Hinüber, The manuscripts of Wat Lai Hin, Lampang (คัมภีร์ของวัดไหล่หิน)
Santi Pakdeekham & Peter Skilling, Manuscript collections in Chaiya District, Surat Thani (ชุดพระคัมภีร์ในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
16h00-18h00 Round table: Narrative literature, Jain and Buddhist (เสวนาโต๊ะกลม - วรรณกรรมเรื่องเล่าในศาสนาเชนและพุทธ)
Leader of discussion: Naomi Appleton (University of Edinburgh)Participants: Nalini Balbir, Rupert Gethin, Peter Skilling, Daniel M. Stuart, Toshiya Unebe



ศุกร์ที่ 20 มิถุนายน
9h00-12h00 Jambupatisūtra workshop (session 5)

สิ้นสุดงานประชุม



รายละเอียดกิจกรรม:
อ่านชัมภูบดีสูตรในภาษาขอมและบาลี 
นำกิจกรรมโดย Santi Pakdeekham (Department of Thai and Oriental Languages, Srinakharinwirot University) และ Peter Skilling (EFEO)

การลงทะเบียน: กิจกรรม ‘อ่านชมพูบดีสูตร' คือกิจกรรมสำคัญของสัปดาห์บาลีศึกษาครั้งที่หนึ่ง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเข้าร่วมได้ฟรีโดยจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้:
• ประสบการณ์ความรู้ไวยากรณ์และการอ่านภาษาบาลี โดยเฉพาะในกลุ่มคัมภีร์พระสูตรและเรื่องเล่า
•    ความคุ้นเคยในการอ่านภาษาบาลีที่จารึกหรือเขียนด้วยอักษรขอม

**งานกิจกรรมนี้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารหลัก ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้อ่านออกเสียงบทภาษาบาลีบทต่างๆ หลังจากนั้นจึงทำการแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยผลัดเปลี่ยนกันไปเป็นลำดับในวงประชุม 

*** กรุณาตอบเงื่อนไขการลงทะเบียนโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยส่งมาที่ คุณ Nalini BALBIR (nalini.balbir@wanadoo.fr) หรือที่คุณ Peter SKILLING (vararuci@mac.com) ดดยให้ข้อมูลสำคัญดังต่อไปนี้:
• ชื่อ
•    Email
• ที่อยู่
•    สำนักวิชาการที่ทำงานหรือประจำอยู่
•    ประสบการณ์และหรือการเรียนภาษาบาลี

❉ ❉ ❉

สถานที่จัดงาน: บันได U, ชั้น 4 (ห้อง H 637), มหาวิทยาลัย Sorbonne, École pratique des hautes études (EPHE)
จัดโดย: Nalini Balbir and Peter Skillingได้รับการสนับสนุนจาก: EFEO, UMR 7528 Mondes iranien et indien และ PRES HESAM (DYNASIA programme)


 conference