Bangkok
Thailand


Responsable: Gregory Kourilski

Ecole française d'Extrême-Orient
Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
20 Borommaratchachonnani Road
Bangkok 10170
Thailand
Tel: +66 2 433 12 68
Fax: +66 2 880 93 32 gregory.kourilsky@efeo.net
efeo@sac.or.th


Peter Skilling ณ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (เบิร์คเลย์)
17 APRIL 14
ในระหว่างวันที่ 14 ถึง 18 เมษายน 2557 นี้ Peter Skilling จะเดินทางไปร่วมงานสัมมนาพุทธศาสนศึกษาที่เมือง Berkeley ทั้งนี้ ในวันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน 2557 เขาจะให้คำบรรยายในหัวข้อ "Early Indian Mahayana: Thoughts and Questions" (พุทธศาสนานิกายมหายานของอินเดียตอนต้น) ที่ University of California (Berkeley)

"The evolution of early Mahāyāna is a topic that perennially fascinates, perhaps because there are more questions than answers. The recent publication and ongoing study of newly discovered manuscripts from Gandhāra have already radically transformed our picture of early Mahāyāna. We now have physical evidence for the development of Buddhist practice and metaphysics in the Northwest of the Indian subcontinent from about Buddhist Era 400 or the beginning of the Christian Era. The manuscripts include a Prakrit Perfection of Wisdom (Prajñāpāramitā) and an unknown sutra from Bajaur (Pakistan), as well as fragments of several other Mahāyāna sutras like the Fortunate Aeon (Bhadrakalpika) and the Meditation on the Buddhas of the Present (Pratyutpanna Samādhi Sūtra). In addition, excavations in India in recent decades have uncovered numerous new Buddhist sites, including major stupa complexes like Deorkothar (Rewa, MP), Bhon (Maharashtra), Phanigiri (AP), and Kanaganahalli (Karnataka). These discoveries completely revise the archaeological map of Indian Buddhism. In short, the old theories and the old textbooks are now very much out of date. With this situation - which I term the "revolution in Buddhist Studies" - in mind, I will discuss some of the new finds and their implications for the history of Buddhist thought."

"วิวัฒนาการของพระพุทธศาสนานิกายมหายานในยุคต้นเป็นหัวข้อที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเพราะยังมีคำถามอีกมากรอให้ตอบ อย่างไรก็ตาม ผลงานตีพิมพ์ใหม่เมื่อเร็วๆ นี้รวมถึงทั้งงานศึึกษาคัมภีร์ค้นพบใหม่ที่เมืองคันธาระได้เปลี่ยนแปลงมุมมองต่อพุทธศาสนามหายานในยุคต้นอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ ในปัจจุบัน เรามีหลักฐานในเชิงวัตถุของพัฒนาการทางด้านพิธีกรรมและแนวคิิดอภิปรัชญาในพุทธศาสนาของช่วงพุทธศักราช 400 หรือช่วงต้นคริสตศักราช หลักฐานดังกล่าวถูกค้นพบที่ภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดีย ในส่วนที่เป็นคัมภีร์ซึ่งได้รับการค้นพบใหม่นี้หมายรวมถึงคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาในภาษาปรากฤต  (Prajñāpāramitā) และพระสูตรที่ยังไม่อาจระบุชื่อได้จากเมือง Bajaur (ประเทศปากีสถาน) รวมถึงชิ้นส่วนคัมภีร์พระสูตรต่างๆ ในนิกายมหายาน มีอาทิคัมภีร์ภัทรกัลปิกะ (Bhadrakalpika) และคัมภีร์ปรัตยุปันนสมาธิสูตร (Pratyutpanna Samādhi Sūtra) นอกเหนือจากนี้ งานขุดค้นทางโบราณคดีประเทศอินเดียในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้เผยให้เห็นแหล่งโบราณคดีสำคัญทางพุทธศาสนาหลายแห่ง ในกลุ่มนี้มีกลุ่มสถูปและมหาสถูปอันมีโครงสร้างซับซ้อนของแหล่งโบราณคดี Deorkothar (ในรัฐมัธยประเทศ อินเดียกลาง) แหล่งโบราณคดี Bhon (รัฐมหาราษฏระ ทางตะวันตกของประเทศอินเดีย) แหล่งโบราณคดี Phanigiri (รัฐอานธารประเทศ ตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย) แหล่งโบราณคดี Kanaganahalli (รัฐกรณาฏกะ ทางตอนตะวันตกเฉียงใต้หรือทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย) การขุดค้นพบเหล่านี้ทำให้เราต้องกลับมาทบทวนใหม่เกี่ยวกับแผนที่ทางวัฒนธรรมของพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย โดยสังเขป ทฤษฎีเก่ารวมถึงทั้งตำราเก่าที่มีมาจนถึงบัดนี้อาจกลายเป็นของล้าสมัยไปเสียแล้ว ภายใตรูปการณ์ซึ่ง Peter Skilling เรียกว่า "การปฏิวัติในพุทธศาสนศึกษา" (Revolution in Buddhist Studies) และเป็นประเด็นที่เขาจะร่วมถกเถียงเกี่ยวกับงานค้นพบใหม่บางชิ้นรวมถึงนัยสำคัญที่ผลงานเหล่านั้นมีต่อประวัติศาสตร์ทางความคิดในพระพุทธศาสนา"


http://buddhiststudies.berkeley.edu/events/

 conference   visit