Bangkok
Thailand


Responsable: Gregory Kourilski

Ecole française d'Extrême-Orient
Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
20 Borommaratchachonnani Road
Bangkok 10170
Thailand
Tel: +66 2 433 12 68
Fax: +66 2 880 93 32 gregory.kourilsky@efeo.net
efeo@sac.or.th


เศียรพระพุทธรูปแบบอยุธยาที่เมืองพระนคร
เศียรพระพุทธรูปแบบอยุธยาที่เมืองพระนคร
C. Pottier นำเสนอบทความที่งานประชุมความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ณ ม.มหิดล, ศาลายา
28 MAY 14
อาจารย์ Christophe Pottier จะเข้าร่วมงานประชุมสัมมนา « ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา จากความขัดแย้งสู่ความร่วมมือ » (Thai-Cambodian Relations: From Conflict to Cooperation) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC) และ Kdei Karuna Organization (KdK), พนมเปญ, ประเทศกัมพูชา ณ มหาวิทยาลัยมหิดล, ศาลายา, จังหวัดนครปฐม ในระหว่างวันที่ 27 ถึง 28 พฤษภาคม 2557 ที่จะถึงนี้

งานประชุมสัมมนา « ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา จากความขัดแย้งสู่ความร่วมมือ » คือส่วนหนึ่งของโครงการแลกเปลี่ยนในเชิงวิชาการเกี่ยวเนื่องกับการศึกษาประวัติศาสตร์และการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน โครงการนี้เป็นโครงการที่อยู่ภายใต้การสนับสนุนของ German International Cooperation agency GIZ และ Open Society Foundations (OSF) และมีจุดมุ่งหมายหลักในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างนักศึกษา นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงาน และผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และประเทศต่างๆ ใน Asean


บทนำเสนอของอาจารย์ Christophe Pottier ในงานประชุม

« Ayutthaya at Angkor: a reappraisal » 
("อยุธยาที่พระนคร : ตีความใหม่")

เมื่อปี พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) ได้มีการขุดค้นพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ในวิหารชั้นกลางที่เมืองพระนคร สันนิษฐานกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปประธานศูนย์กลางเมืองพระนครมาก่อน แต่อาจสูญหายหรือไม่ได้เป็นที่เคารพบูชาต่อมาอีกภายหลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (iconoclastic reaction)

แปดสิบปีหลังจากการค้นพบครั้งสำคัญดังกล่าว ทีมงานของเราได้ทำการทบทวนโบราณวัตถอื่นๆ ที่ได้ขุดค้นพบขึ้นมาพร้อมกับพระพุทธรูปชิ้นสำคัญดังกล่าว ครั้งนั้นเราได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับเศียรพระพุทธรูปขนาดเล็กชิ้นหนึ่ง ซึ่งไม่ได้เป็นที่สนใจเท่ากับพระพุทธรูปชิ้นแรก อย่างไรก็ตาม เศียรพระพุทธรูปขนาดเล็กนี้ทำให้เราได้ข้อมูลใหม่ๆ เป็นจำนวนมากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเมืองพระนครในระหว่างช่วงคริสตศตวรรษที่ 13 จนถึงคริสตศตวรรษที่ 16 (ประมาณช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ถึง 21) โดยเฉพาะในระยะที่เมืองพระนครได้ถูกทิ้งร้าง ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกันดีนัก

พระเศียรขนาดเล็กนี้มีลักษณะทางศิลปกรรมร่วมกับพระพุทธรูปสมัยอยุธยา ลักษณะดังกล่างรวมทั้งการปรากฏมีพระพุทธรูปแบบอยุธยามากกว่า 40 องค์ที่พระนครเป็นหลักฐานในเชิงกายภาพที่สำคัญซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเข้ามามีอำนาจปกครองหรือการมีอิทธิพลของกษัตริย์อยุธยาต่อพระนครในช่วงคริสตศตวรรษที่ 15 (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลาย หรือ 21 ตอนต้น) พระเศียยรดังกล่าวยังแสดงให้เห็นความสืบเนื่องของพิธีกรรมทางพุทธศาสนา (การบูชาพระรูป) ที่เมืองพระนคร และอาจทำให้เราต้องกลับมาทบทวนใหม่ต่อคำถามเกี่ยวเนื่องกับการตีความทางด้านประติมาณวิทยาของช่วงคริสตศักราชที่ 13 รวมถึงทั้งปัญหาเกี่ยวกับรายละเอียดและช่วงเวลาในการเข้ามามีอำนาจของอาณาจักรอยุธยาต่อเมืองพระนครในช่วงคริสตศวรรษที่ 15 เป็นต้น

 conference