Bangkok
Thailand


Responsable: Gregory Kourilski

Ecole française d'Extrême-Orient
Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
20 Borommaratchachonnani Road
Bangkok 10170
Thailand
Tel: +66 2 433 12 68
Fax: +66 2 880 93 32 gregory.kourilsky@efeo.net
efeo@sac.or.th


บทความตีพิมพ์ใหม่ของ Peter Skilling เรื่อง “Precious Deposits: Buddhism Seen through Inscriptions in Early Southeast Asia”
28 MARCH 14
LOST KINGDOMS: HINDU-BUDDHIST SCULPTURE OF EARLY SOUTHEAST ASIA หนังสือเล่มใหม่จากพิพิธภัณฑ์ศิลปะ The Metropolitan Museum of Art และสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเยล คือหนังสือสูจิบัตรพร้อมภาพประกอบสีเนื่องในนิทรรศการ "Lost Kingdoms: Hindu-Buddhist Sculpture of Early Southeast Asia, 5th to 8th Century" 

นิทรรศการดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายที่จะจัดแสดงผลงานศิลปะและโบราณวัตถุชิ้นสำคัญจากช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 ถึง 13 ของเอชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้หยิบยืมมาจากคลังของพิพิทธภัณฑ์แห่งชาติในประเทศกัมพูชา, เวียดนาม, ไทย, มาเลเซีย นอกจากนี้ นิทรรศการดังกล่าวยังถือได้ว่าเป็นนิทรรศการแรกที่ได้รับอนุญาตจากทางประเทศพม่าให้หยิบยืมศิลปวัตถุโบราณชิ้นสำคัญเข้ามาจัดแสดงไว้ในงานด้วย 

งานนิทรรศการนี้จะจัดแสดงที่ Tisch Galleries ของ The MET Museum ในกรุง New York ระหว่างวันที่ 14 เมษายน ถึง 27 กรกฎาคม พ.ศ.2557 ที่จะถึงนี้ 

หนังสือสูจิบัตร LOST KINGDOMS: HINDU-BUDDHIST SCULPTURE OF EARLY SOUTHEAST ASIA เป็นผลงานรวบรวมบทความของนักวิชาการสำคัญหลายท่าน มีอาทิ Hiram Woodward, Robert Brown, ภัทรธร จิรประวัติ, Peter Skilling, Geoff Wade, Arlo Griffith, Pierre-Yves Manguin, Le Lien Thi, Pierre Baptiste, Berenice Bellini, Thierry Zephir, Stephen Murphy, Federico Caro, Donna Strahan ภายใต้การรวบรวมและเรียบเรียงของ John Guy ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ

บทความ "Precious Deposits: Buddhism Seen through Inscriptions in Early Southeast Asia" ของคุณ Peter Skilling นักวิชาการของสำนักฝรั่งเศสที่ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือสูจิบัตรเล่มดังกล่าวนี้ คืองานศึกษาตีความจารึก-คัมภีร์ รวมทั้งศิลปวัตถุ และประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมในพุทธศาสนาของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลงานชิ้นดังกล่าวให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์เปรียบเทียบเรื่องราวและประเพณีการเก็บรักษาจารึกและคัมภีร์ที่ปรากฏในกลุ่มภาษาจารึก 2 กลุ่มหลัก คือกลุ่มที่ใช้ภาษาบาลีและกลุ่มที่ใช้ภาษาสันสกฤตซึ่งพบอยู่ร่วมกันในภูมิภาคดังกล่าว 

ในทัศนะของ คุณ Peter Skilling ลักษณะการเลือกใช้เรื่องราว วิธีการจัดจารึกคัมภีร์ ตลอดจนการเก็บรักษา ระบบพิธีกรรม และความนิยมในแบบศิลปะต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องของวัฒนธรรมในพุทธศาสนาของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แสดงให้เห็นโฉมหน้าหลากมิติที่เป็นตัวของตัวเองของภูมิภาคดังกล่าว นอกจากนี้ ในบริบทของสังคมโลก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังถือเป็นภูมิภาคที่มีส่วนในการผลิตสร้างประเพณีและวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาในแง่มุมใหม่ที่นอกจากจะมีความเป็นตัวของตัวเองแล้ว ยังถือได้ว่ามีสถานภาพและบทบาทที่เท่าเทียมกับประเทศต่างๆ ของภูมิภาคเอชียใต้ และประเทศทางเอเชียตะวันออกด้วย


 publication