Bangkok
Thailand


Responsable: Gregory Kourilski

Ecole française d'Extrême-Orient
Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
20 Borommaratchachonnani Road
Bangkok 10170
Thailand
Tel: +66 2 433 12 68
Fax: +66 2 880 93 32 gregory.kourilsky@efeo.net
efeo@sac.or.th


Jan Dressler
Jan Dressler
Jan Dressler ผู้ได้รับทุนวิจัยแห่งปี 2557
03 MARCH 14
Jan R. Dressler นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา, สถาบันศึกษาเอเชียและแอฟริกาแห่งมหาวิทยาลัยแฮมเบิร์ก (Asien-Afrika-Institut of Universität Hamburg) เป็นผู้ได้รับทุนวิจัยจากสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ เป็นระยะเวลา 4 เดือนของวาระเทอมที่หนึ่งแห่งปี พ.ศ. 2557 ณ ศูนย์กรุงเทพฯ สำหรับงานวิจัยของเขาในหัวข้อ "พัฒนาการของตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแห่งอาณาจักรสยาม"

บทคัดย่อ:

ในระหว่างช่วงปลายศตวรรษที่ 18 จนถึงตอนต้นของศตวรรษที่ 19 นักการทูต,พ่อค้า และนักท่องเที่ยวชาวยุโรปต่างให้ความสนใจกับรูปแบบการปกครองของราชอาณาจักรสยามที่มีกษัตริย์อยู่ด้วยกันถึงสองพระองค์ จุดมุ่งหมายของงานวิจัยนี้คือการสำรวจวิเคราะห์ตำแหน่ง-สถาบันของพระเจ้าอยู่หัวองค์ที่สอง (วังหน้า) จากหลักฐานทั้งภาษาไทยและภาษาต่างชาติ และมีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายพัฒนาการของตำแหน่งดังกล่าวในช่วงระหว่างการก่อตั้งราชวงศ์ปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 1782 ไปจนถึงช่วงของการสืบทอดตำแหน่งกรมพระราชวังบวรฯ ในปี ค.ศ. 1885

เพื่อที่จะถอดเอาโครงสร้างของแบบประพฤติปฏิบัติซึ่งมีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์และสถานภาพของกรมพระราชวังบวรฯ พระองค์ต่างๆ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ผู้วิจัยจะสรุปวิเคราะห์บทต่างๆ จากวรรณกรรมภาษาบาลีและพงศาวดารสมัยอยุธยา ทั้งนี้บนพื้นฐานข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทราชการจากเอกสารชั้นต้นที่ยังไม่มีการตีพิมพ์ฉบับต่างๆ ผู้วิจัยมีความมุ่งหวังที่จะอธิบายพัฒนาการของตำแหน่งกรมพระราชวังบวรฯ และบทบาทหน้าที่ทางด้านนโยบายการต่างประเทศ การคลังและการจัดเก็บภาษี การตรากฎหมาย และการศาสนาโดยละเอียด 

นอกจากนี้ ผู้วิจัยจะนำเสนอวิธีการใหม่ให้กับการศึกษาอำนาจและการบริหารอำนาจของกรมพระราชวังบวรฯ โดยการวิเคราะห์เอกสารราชการ มีอาทิกฎมณเทียรบาลว่าด้วยกรมพระราชวังบวรฯ กฎมณเทียรบาลโดยภาพรวม หมายสั่งการของสำนักราชวัง ตราสงฆ์ การออกโฉนดและยกประโยชน์ที่ดิน ฯลฯ ผ่านมุมมองทางการทูต 

ในขั้นตอนสุดท้าย ผู้วิจัยจะวิเคราะห์แจกแจงประเด็นที่ข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับแรกๆ ซึ่งพาดพิงถึงการมีอยู่ของกรมพระราชวังบวรฯ และการเรียบเรียงตีพิมพ์พระราชพงศาวดารได้เข้ามามีส่วนในการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับภาพลักษณ์และสถานภาพของตำแหน่งดังกล่าวตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน

ภายใต้ความขาดแคลนแหล่งข้อมูลและหลักฐานชั้นต้นในลักษณะต่างๆ ผู้วิจัยมีความประสงค์ที่จะเชิญชวนผู้อ่านและนักวิจัยที่มีความสนใจต่อเรื่องดังกล่าวร่วมแบ่งปันหรือแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกสารที่อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักหรือยังไม่มีการตีพิมพ์เกี่ยวกับและของ « วังหน้า » เพื่อขยายองค์ความรู้แห่งหน้าประวัติศาสตร์ไทยที่ถูกลืมนี้ให้กว้างไกลออกไป

หมายเหตุ: สำหรับข้อมูลเอกสารต่างๆ กรุณาติดต่อ janrdressler[at]gmail.com